วันที่ 11 มีนาคม 2564 นางขวัญตา พ่วงทอง นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนเพชรบุรี เข้าร่วมการฝึกอบรมโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 กิจกรรมย่อยที่ 1.1 สร้างแกนนำขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงหลักสูตรเพิ่มทักษะระยะสั้นการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล รุ่นที่ 4 ระหว่างวันที่ 8- 12 มีนาคม พ.ศ. 2564 มีกลุ่มเป้าหมายเป็นแกนนำหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงครามและจังหวัดราชบุรี รวมทั้งหมดจำนวน 116 คน โดยมีอาจารย์ ต่อวงศ์ ปุ้ยพันธวงศ์ ผู้ประสานงานชุมชนกสิกรรมธรรมชาติตามลุ่มน้ำเพชรบุรี (ชตพ.)พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน เข้าร่วมโครงการ ณ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
นางขวัญตา พ่วงทอง กล่าวว่า รู้สึกยินดีถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของผู้เข้าอบรมและขอให้ผู้เข้าอบรมได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ไปสู่การปฏิบัติ เพื่อการพัฒนาที่สมดุลเป็นธรรมและมีภูมิคุ้มกันกับผลกระทบการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ สามารถบูรณาการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงให้สอดคล้องกับภูมิสังคมของแต่ละพื้นที่ เช่นการบริหารจัดการน้ำและพื้นที่การเกษตรด้วย “โคก หนอง นา โมเดล” มีการบริหารจัดการชุมชนแบบบูรณาการที่เข้มแข็ง และพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน นำองค์ความรู้หลักการไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่จริง โดยนำไปปรับใช้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีในพื้นที่ชุมชน เป็นต้นแบบแก่ชุมชน และสร้างกระบวนการเรียนรู้ในระดับบุคคลก่อนลงไปส่งเสริมคนในชุมชน ก็จะสามารถนำพาชุมชนนั้น เกิดการพัฒนาอย่างแท้จริง นำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในชุมชนต่อไป
นอกจากนี้ ในการฝึกอบรมได้ดำเนินกิจกรรมการออกแบบเชิงภูมิศาสตร์สังคมไทยตามหลักการพัฒนาภูมิสังคมอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาตนเองและรองรับภัยพิบัติ โดยอาจารย์ ต่อวงศ์ ปุ้ยพันธวงศ์ ผู้ประสานงานชุมชน กสิกรรมธรรมชาติตามลุ่มน้ำเพชรบุรี (ชตพ.) มีการฝึกปฏิบัติการสร้างหุ่นจำลอง การจัดการพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดลและนำเสนอ งานสร้าง หุ่นจำลอง การจัดการพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล โดยอาจารย์ ต่อวงศ์ ปุ้ยพันธวงศ์ ผู้ประสานงานชุมชน กสิกรรมธรรมชาติตามลุ่มน้ำเพชรบุรี (ชตพ.) พร้อมทั้งมีการฝึกปฏิบัติ Team Building การบริหารจัดการในภาวะวิกฤต หาอยู่ หากิน เพื่อเป็นการสร้างสถานการณ์หากมีข้อจำกัด โคก หนอง นา ของตนสามารถอยู่ได้โดยพึ่งตนเองมากที่สุด สร้างความรักความสามัคคี และความสนุกสนาน ได้รู้จักการวางแผนให้กับผู้เข้าร่วมอบรมเป็นอย่างยิ่ง รวมถึงได้มีการร่วมกันสรุปผลและถอดบทเรียนการฝึกปฏิบัติการดังกล่าวอีกด้วย