เอไอเอส ต่อยอดโครงการ “อุ่นใจไซเบอร์” ในวัน Safer Internet Day ผนึกกรมสุขภาพจิต ร่วม MOU เตรียมพัฒนาแบบเรียนออนไลน์สร้างภูมิคุ้มกันดิจิทัล ให้คนไทยใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์อย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย
9 กุมภาพันธ์ 2564 : เอไอเอส ส่งความห่วงใยให้คนไทยยุคโควิด-19 ที่ใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์ หลังผลสำรวจของกรมสุขภาพจิตในเดือนมกราคม ปี 2564 พบว่าประชาชนทั่วไปมีความเครียดสูง 6.25% มีภาวะเสี่ยงซึมเศร้า 7.85% มีภาวะเสี่ยงฆ่าตัวตาย4.07% และมีภาวะเสี่ยงหมดไฟ 6.93%
ดังนั้นจึงต่อยอดโครงการ “อุ่นใจไซเบอร์” มุ่งสร้างความตระหนักรู้ในเรื่อง Cyber Wellness เพื่อให้คนไทยใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์อย่างถูกวิธี ล่าสุดถือฤกษ์วัน Safer Internet Day ผนึกกำลังกรมสุขภาพจิต
ร่วมลงนามความร่วมมือ จัดทำแพลตฟอร์มหลักสูตรการเรียนรู้ดิจิทัล เพื่อเสริมสร้างทักษะการใช้ชีวิต
บนโลกออนไลน์ และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับคนไทยใช้ชีวิตบนโลกออนไลน์อย่างสร้างสรรค์ และยั่งยืน
เตรียมเปิดตัวในไตรมาส 2 ของปี 2564
นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า “จากสถานการณ์โควิดที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิต พบว่าสื่อออนไลน์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการใช้ชีวิตทั้งเป็นประโยชน์และอาจนำมาซึ่งความเสี่ยง
จากภัยไซเบอร์ รวมถึงยังทำให้เกิดปัญหาสภาวะทางจิตใจตามมา ดังนั้นการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล
จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนในสังคมต้องให้ความสำคัญ ทั้งนี้ ในวาระวัน Safer Internet Day ที่รณรงค์ให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และคนไทยทุกคน เล็งเห็นถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย และใช้งานอย่างสร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ต่อสังคม เอไอเอสในฐานะ Digital Life Service Provider มีภารกิจสำคัญ
ในการส่งเสริมและสร้างการตระหนักรู้ในเรื่อง Cyber Wellness เพื่อให้คนไทยเป็นพลเมืองดิจิทัล
(Digital Citizen) อย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ จึงเดินหน้าสานต่อโครงการ “อุ่นใจไซเบอร์” ในการร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ผู้มีความเชี่ยวชาญและมีองค์ความรู้เกี่ยวกับทักษะทางดิจิทัลอย่างแท้จริง เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยให้คนไทยสามารถใช้ชีวิตได้เป็นอย่างดีที่สุดบนเครือข่ายที่ปลอดภัย โดยได้ร่วมลงนามความร่วมมือ กับกรมสุขภาพจิต เพื่อสร้างดิจิทัลแพลตฟอร์มการเรียนรู้รูปแบบใหม่ให้แก่คนไทย เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน และพัฒนาทักษะทางดิจิทัล โดยมุ่งหวังให้เยาวชน และคนไทย ใช้ดิจิทัลอย่างรู้เท่าทัน
และป้องกันความเสี่ยงจากการใช้งานอินเทอร์เน็ต โดยจะเปิดให้ใช้บริการภายในไตรมาส 2 ของปี 2564 นี้”
ด้าน พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า “กรมสุขภาพจิตให้ความสำคัญกับการสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจมาโดยตลอด โดยเฉพาะในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19
ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของคนไทยและทั่วโลก โดยในปัจจุบัน พบว่า ช่องทางออนไลน์และดิจิทัล
กลายเป็นช่องทางสื่อสารหลักในชีวิตประจำวันของคนไทย ดังนั้นการสร้างภูมิคุ้มกันบนโลกออนไลน์
จึงเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมาก การที่คนไทยมีความรู้ในการใช้สื่อออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย
และสร้างสรรค์ ช่วยส่งเสริมสุขภาพกายและจิตของตนเอง ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ตนเองรับมือภัยบนโลกออนไลน์ และเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพจะช่วยลดปัญหาด้านสุขภาพจิตของคนไทยได้ในระยะยาว ดังนั้น ความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่จะช่วยให้เกิดการพัฒนา
Cyber Wellness ให้แก่คนไทย โดยมี Mental Wellness เป็นส่วนประกอบสำคัญ เพื่อเป้าหมายในการสร้างพลเมืองด้านสุขภาพจิต หรือ Mental Health Citizen ในอนาคตทั้งบนโลกออนไลน์และออฟไลน์
กรมสุขภาพจิตจึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมมือกับ เอไอเอส ในการดูแลสุขภาพจิตที่ดีของคนไทย
ไปพร้อมๆ กัน”
“ความร่วมมือระหว่างเอไอเอส และกรมสุขภาพจิตในครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของภารกิจสำคัญ
ที่จะช่วยสร้างเกราะกำบังที่แข็งแกร่งทั้งในด้านภูมิปัญญา และด้านจิตใจให้กับคนไทยและเพื่อเป็นการสนับสนุนทุกคนใช้งานอินเทอร์อย่างปลอดภัย และมีสภาวะจิตใจที่เข้มแข็งไปด้วยกันในสถานการณ์นี้”
นางสายชล กล่าวสรุป
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการอุ่นใจไซเบอร์ได้ที่https://www.facebook.com
/ais.sustainability