คปภ. ลงพื้นที่จังหวัดนครปฐม เปิดโครงการ “ขับขี่ปลอดภัย อุ่นใจไปกับ พ.ร.บ.” จัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์และสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการประกันภัย พร้อมแนะประชาชนติดต่อกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย หากเกิดอุบัติเหตุจากรถ แต่เบิกค่าเสียหายเบื้องต้นจากใครไม่ได้
ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) มอบหมายให้นายชนะพล มหาวงษ์ รองเลขาธิการ ด้านกฎหมาย คดี และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ เป็นประธานเปิด งาน “ขับขี่ปลอดภัย อุ่นใจไปกับ พ.ร.บ.” เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม อําเภอ เมือง จังหวัดนครปฐม
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์และสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสําคัญ ของการทําประกันภัยรถภาคบังคับ หรือ ประกันภัย พ.ร.บ. และบทบาทหน้าที่และภารกิจของกองทุนทดแทน ผู้ประสบภัย โดยมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 300 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารและพนักงาน สํานักงาน คปภ. ผู้บริหารกองทุน ทดแทนผู้ประสบภัย หัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดนครปฐม และประชาชนทั่วไป
นายชนะพล มหาวงษ์ รองเลขาธิการด้านกฎหมาย คดี และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ สํานักงานคณะกรรมการ กํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (รองเลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ได้จัดต้ังขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เพื่อทําหน้าท่ีในการจ่าย “ค่าเสียหาย เบื้องต้น” ให้กับผู้ประสบภัยจากรถ สําหรับเป็นค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท ค่าปลงศพ กรณีเสียชีวิต จํานวน 35,000 บาท หรือค่าสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพถาวร จํานวน 35,000 บาท รวมกันแล้ว สูงสุดไม่เกิน 65,000 บาท ใน 6 กรณี ได้แก่ 1) กรณีที่รถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประสบภัยไม่จัดทํา ประกันภัยตามที่กฎหมายกําหนดไว้ และเจ้าของรถไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นหรือจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นไม่ครบถ้วน 2) กรณีรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายมิได้อยู่ในความครอบครองของเจ้าของรถในขณะเกิดเหตุ เพราะถูกยักยอก ฉ้อโกง กรรโชก ลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ และได้มีการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนไว้แลว้ 3) กรณีรถนั้น ไม่มีผู้แสดงตนเป็นเจ้าของรถและไม่จัดทําประกันภัยตามที่กฎหมายกําหนดไว้ 4) กรณีถูกชนแล้วหนี หรือไม่อาจ ทราบได้ว่าความเสียหายเกิดจากรถคันใด 5) กรณีบริษัทไม่จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยหรือจ่าย ค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไม่ครบจํานวน หรือ 6) กรณีรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นรถที่ได้รับการยกเว้นตาม กฎหมาย โดยเมื่อจ่ายไปแล้ว กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย มีหน้าที่ต้องติดตามเรียกเงินค่าเสียหายเบื้องต้นพร้อมเงินเพิ่ม คืนจากเจ้าของรถ หรือผู้กระทําผิดต่อไป นอกจากนี้เจ้าของรถที่ฝ่าฝืนไม่จัดให้มีการประกันภัย พ.ร.บ. จะมีโทษปรับ ไม่เกิน 10,000 บาท และคนใช้รถที่ฝ่าฝืนไม่จัดให้มีการประกันภัย พ.ร.บ. ก็จะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท เช่นกัน
ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าใจในบทบาทหน้าที่และภารกิจของกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย จึงได้จัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์ความรู้แก่ประชาชนให้มีความตระหนักถึงความสําคัญของการจัดทํา ประกันภัยรถภาคบังคับ หรือประกันภัย พ.ร.บ. และโทษของการไม่จัดให้มีการประกันภัย พ.ร.บ. รวมทั้งเข้าใจถึง บทบาทหน้าที่และสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่จะได้รับจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัด เสวนาเพ่ือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ในหัวข้อเรื่อง “ประโยชน์ของการประกันภัย พ.ร.บ. และบทบาทหน้าที่ ของกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย” พร้อมปล่อยขบวนคาราวานรถจักรยานยนต์กว่า ๑๐๐ คัน และกิจกรรมการ ออกบูธประชาสัมพันธ์ของกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย และหน่วยงานเครือข่าย ประกอบด้วย บริษัทประกันภัย นายหน้าประกันภัย พร้อมให้บริการแนะนําปรึกษาด้านการประกันภัยกับ “คลินิกกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย” รวมถึงการจัดมินิคอนเสิร์ตและกิจกรรมสันทนาการเล่นเกมแจกของรางวัลต่าง ๆ อีกมากมาย โดยในปีนี้ ได้กําหนด จัดงาน “ขับขี่ปลอดภัย อุ่นใจไปกับ พ.ร.บ.” จํานวน 3 ครั้ง ใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครปฐม นครราชสีมา และ จังหวดั พิษณุโลก
“พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มีเจตนารมณ์เพื่อให้ผู้ประสบภัยจากรถทุกคนได้รับ การช่วยเหลือเยียวยาอย่างทันท่วงที จึงได้กําหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย เพื่อทําหน้าที่ในการจ่าย ค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถทุกคนที่ไม่อาจเข้าถึงสิทธิจากการประกันภัยได้ โดยผู้ประสบภัยจากรถ สามารถติดต่อกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ได้ที่สํานักงาน คปภ. (ส่วนกลาง) และสํานักงาน คปภ.จังหวัดทุกแห่ง ท่ัวประเทศ อย่างไรก็ดี ขอฝากมายังประชาชนควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะเส้นทางการจราจร ที่ไม่คุ้นเคย เพ่ือลดความเส่ียงต่อการสูญเสียที่จะเกิดขึ้นได้ และหมั่นตรวจสอบสภาพรถยนต์อย่างสม่ําเสมอ ตลอดจนตรวจสอบวันหมดอายุกรมธรรม์ประกันภัยรถภาคบังคับ (ประกันภัย พ.ร.บ.) ตามที่กฎหมายกําหนด และ ควรทํากรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ และการประกันภัยอื่น ๆ เช่น การประกันชีวิต การประกันอุบัติเหตุ เป็นต้น เพื่อที่ระบบประกันภัยจะได้เข้ามาช่วยบริหารความเสี่ยงและเยียวยาความสูญเสียต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทั้งนี้ หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันภัย สามารถสอบถามได้ที่สายด่วน คปภ. 1186” รองเลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย