สภาองค์กรของผู้บริโภคร่วมกับมหาวิทยาลัยรังสิต ขยายแกนนำภาคีคนรุ่นใหม่ ขับเคลื่อนภัยออนไลน์ ผ่านโครงการ “มิตรสู้มิจ”

สำนักงานสภาองค์กรผู้บริโภค (สอบ.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยรังสิต จัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย 10 สถาบัน ผ่านโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการขยายแกนนำภาคีเครือข่าย สร้างการรับรู้ด้านการสื่อสารเนื้อหา ประเด็น “ภัยออนไลน์” ในการสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความเชื่อถือต่อสภาองค์กรผู้บริโภคและร่วมกันส่งเสริม สร้างความตระหนักและการรู้เท่าทันสื่อ “ภัยกลโกงออนไลน์” ให้แก่เยาวชน บุคคลแวดล้อมรอบตัวและประชาชน

นางสภาพร  ถิ่นวัฒนากูล รองเลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) กล่าวว่า เนื่องจากความรวดเร็วจากเทคโนโลยีสมัยใหม่และช่องทางสื่อสารที่หลากหลาย ทำให้มิจฉาชีพต่าง สรรหาวิธีการในการสื่อสารซึ่งหลบซ่อนอยู่ตามช่องทางต่าง ๆ เพื่อคุกคามผู้บริโภคจากข้อมูลภัยคุกคามทางไซเบอร์ในโลกออนไลน์ ปี 2566 พบว่า เด็กและเยาวชนตกเป็นเหยื่อมากที่สุด ปัจจุบันเป็นเรื่องที่น่ากังวลอันเนื่องมาจากช่องทางที่เข้าถึงง่าย ความอยากรู้อยากเห็น และความรู้เท่าไม่ถึงการณ์นี้ อาจทำให้เด็กและเยาวชนเสี่ยงพบเจอกับภัยทางไซเบอร์ และตกเป็นเหยื่ออยู่บ่อยครั้งไม่ต่างกับผู้สูงอายุ เด็กไทยกว่าร้อยละ 83 เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ง่าย และรวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ส่วนใหญ่จะเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ซึ่งเป็นช่องทางไปสู่ภัยคุกคามทางไซเบอร์ ข้อมูลจากทาง สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาพ, 2566)

สำหรับบทบาทหน้าที่ของสภาของกรณ์ของผู้บริโภค ที่ได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ และอำนาจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562 มีนโยบายคุ้มครองผู้บริโภค เร่งกระบวนการ คุ้มครองผู้บริโภคให้ครบทุกมิติด้วยการวางรากฐาน ‘การสร้างผู้บริโภครู้เท่าทัน’ ในหลายพื้นที่ และมีจำนวนองค์กรสมาชิกทั่วประเทศเพิ่มชื้นจาก 151 องค์กร เป็น 295 องค์กร สภาองค์กรของผู้บริโภค ได้ตระหนักถึงแนวทาง การแก้ไขปัญหา ทั้งการรณรงค์ การให้คำแนะนำ การให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา ช่วยเจรจาไกล่เกลี่ยหากเกิด ปัญหากับผู้บริโภค และฟ้องร้องดำเนินคดีแทนผู้บริโภค งานคุ้มครองผู้บริโภคระดับประเทศที่ร่วมมือกับองค์กรสมาชิก นักวิชาการ เครือข่ายต่าง ๆ เพื่อป้องกันปัญหา และผลกระทบต่อผู้บริโภค “ภัยกลโกงออนไลน์” โดยเฉพาะประเด็นด้านการเงินและการธนาคาร รวมถึงด้านสินค้าและบริการทั่วไป เพื่อให้เยาวชน มีความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนตระหนักถึงปัญหาของภัยคุกคามทางไซเบอร์ อีกทั้งเพื่อเป็นการสร้างช่องทางการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารผ่านกลุ่มเยาวชน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยีเป็นอย่างดีที่สามารถเข้าถึงและให้ความรู้ส่งต่อไปยังกลุ่มเสี่ยงที่อาจตกเป็นผู้เสียหาย เช่น กลุ่มผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว

สภาองค์กรของผู้บริโภคในฐานะองค์กรที่เป็นตัวแทนผู้บริโภคทุกด้าน เพื่อปกป้องคุณภาพชีวิตของคนไทยที่เป็นผู้บริโภคทุกคนได้เล็งเห็นถึงภัยจากโลกออนไลน์ได้แผ่ขยายไปยังสังคมออนไลน์อย่างรวดเร็วกับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนเริ่มมีการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจึงควรสร้างความรู้เท่าทันภัยออนไลน์ รวมทั้งการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ป้องกันภัยร้ายที่แฝงมากับสื่อและเทคโนโลยี การสื่อสารรูปแบบใหม่ ภายใต้โครงการ “มิตรสู้มิจ – ภาคี มหาวิทยาลัยขับเคลื่อนสังคม เสริมภูมิคุ้มกันภัยมิจฉาชีพออนไลน์” เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงภัยเงียบที่แอบแฝงมากับสื่อเทคโนโลยี

การจัดโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) 1. สร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความเชื่อถือ ต่อสภาผู้บริโภค ในการขับเคลื่อนประเด็นภัยออนไลน์ ซึ่งเป็นวาระเร่งด่วนสำหรับองค์กรทุกระดับ นับตั้งแต่ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ องค์กรสาธารณประโยชน์ องค์กรชุมชนและครอบครัว 2) สื่อสาร สนับสนุน และส่งเสริมประเด็นสิทธิผู้บริโภค ให้กับเยาวชนและประชาชนทั่วไปร่วมกัน ส่งเสริม สร้างความตระหนักและการรู้เท่าทันสื่อ “ภัยกลโกงออนไลน์” ให้แก่เยาวชน บุคคลแวดล้อมรอบตัว และประชาชนทุกกลุ่ม และ 3) สร้างวัฒนธรรมและมุมมองสิทธิของผู้บริโภคในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และภูมิภาค ร่วมกันสนับสนุนการพัฒนาระบบปกป้องเยาวชนจากภัยออนไลน์ โดยมีพื้นที่ดาเนินการโครงการ ประกอบด้วย 1) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 2) มหาวิทยาลัยนเรศวร 3) มหาวิทยาลัยขอนแก่น 4) มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ 5) มหาวิทยาลัยรามคำแหง 6) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ 7) มหาวิทยาลัยรังสิต 8) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี    9) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และ 10) มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา  โดยมีกิจกรรม ดังนี้ 1) ผลงานของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ อย่ำงน้อย 10 ชิ้นงานต่อสถาบัน 2) เนื้อหาหลักในการสร้างสรรค์ผลงาน “ภัยกลโกงออนไลน์” จำนวน 3 ประเด็น ได้แก่ ด้ำนกลโกงมิจฉาชีพรูปแบบออนไลน์ ด้านกการเงินและการธนาคาร และด้ำนสินค้ำ – บริการทั่วไป 3)ประเภทของผลงาน คลิปวิดีโอสั้น โดยให้ผลงานมีความเหมาะสมกับช่องทางการเผยแพร่

4) ผลงานการสร้างสรรค์ จำนวน 10 ชิ้นงานต่อสถาบัน นำเสนอผ่านสื่อออนไลน์ เช่น Facebook Instagram TikTok และติด Hangtag #สภาผู้บริโภค #TCCFC #ภัยออนไลน์  5) ทีมส่วนกลาง เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการนำเสนอ คัดเลือกผลงานแต่ละสถาบัน จำนวน 3 ผลงานต่อสถาบัน เพื่อนำเสนอในนิทรรศการ ซึ่งกำหนดจัดการจัดงานแถลงข่าว (Press Conference) เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับคนรุ่นใหม่ ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2568 ณ โรงแรม เดอะ บาซาร์ โฮเทล แบงคอก และใช้โลโก้สถาบันเพื่อประชาสัมพันธ์ในกิจกรรมร่วมกัน

ในส่วนของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาริษา  สุจิตวนิช ประธานสาขานิเทศศาสตร์ ได้มอบหมายให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วินัย  บุญคง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทิวาพร  ทราบเมืองปัก อาจารย์วรุฒ  ก่วยสกุล และอาจารย์รักษิณา  ปิยะเจริญทรัพย์ รับผิดชอบโครงการ กล่าวว่า เมื่อวันที่  17  กุมภาพันธ์  2568  ณ ห้อง LI 5 ชั้น 4 อาคารศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์ สาขาฯ ได้รับเกียรติจาก นางสภาพร  ถิ่นวัฒนากูล รองเลขาธิการสำนักงานสภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) ประธานคณะกรรมการตัดสินผลงาน สถาพร  อารักษ์วทนะ หัวหน้าฝ่ายสื่อสารสาธารณะและประชาสัมพันธ์(กรรมการ) และนางสาววิภารัตน์  พิพัฒน์เตชากร ประธานศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดนครปฐม (กรรมการ)  ผลการตัดสิน ดังนี้ ทีมชนะเลิศ ได้แก่ เรื่อง รัก ลวง หลอก สมาชิกประกอบด้วย 1) นายวิศิษฐ์ สันตะกิจ 2) นางสาวศุภธวดี สาตจีนพงษ์ 3) นายจักรกฤช ถังเงิน 4) นางสาวจุฑารัตน์ สุขชู 5) นางสาวสมฤทัย  ขำดำ 6) นางสาวสรวีย์  แซ่โง้ว และ 7) นายเจตนิพัทธ เนียมแสวง รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ เรื่อง ภาพลวงตา สมาชิกประกอบด้วย 1) นายปรมี ธนาทรัพย์เจริญ 2) นายคามิน  แห้วเพ็ชร 3) นายพิฆเนศวร์ อินสว่าง 4) นายทวีสิน ทองงามขำ 5) นายสิตานัน  สุรภักดี นางสาวจรรยพร  ไฮงาม และนางสาวกานตรัตน์  นามสิงห์ และรองชนะเลิศอันดับ 2 เรื่อง กู้นอกระบบ สมาชิกประกอบด้วย 1) นายชุติพงศ์  ทวีเดชอำนาจ 2) นายเตชสิทธิ์  สุขหอม 3) นายธัญยวัฒน์  ภู่สกุล 4) นายธนสิน  ตุ้มจงกล 5) นางสาวบุศราคัม แซ่ลิ้ม และ 6) นางสาววิมพ์วิภา  เจิมเครือ ทั้งนี้ ทั้ง 3 ทีมเป็นนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 (จากรอบแรกจำนวนทั้งสิ้น 37 ทีม เข้ารอบสอง จำนวน 10 ทีม และรอบสุดท้าย 3 ทีม)

Related posts