EC.มรน.คว้าโล่และใบประกาศนียบัตรรับรองคุณภาพฯ NECAST 2 จาก วช.

วันที่  26  สิงหาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์พงศ์  ป้อมปราณี  รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ปิยะพร  ตันณีกุล  เลขานุการคณะอนุกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม รับมอบโล่พร้อมใบประกาศนียบัตรรับรองคุณภาพฯ คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ NECAST 2 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)  ณ ห้อง World Ballroom    ชั้น 23 โรงแรมเซ้นทารา แกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์

สืบเนื่องจากคณะอนุกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม นำโดย ศาสตราจารย์ระพีพรรณ  คำหอม ประธานอนุกรรมการฯ รองศาสตราจารย์ ดร.กัญญดา  ประจุศิลปะ รองประธานฯ รองศาสตราจารย์ ดร.จิตติรัตน์  แสงเลิศอุทัย รองประธานฯ รองศาสตราจารย์ ดรสุนุตรา ตะบูนพงศ์  รองศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.ลาวัลย์  ศรัทธาพุทธ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.ชนาธิป  ชินะนาวิน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โยธิน  ศรีโสภา  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล  ผู้มีจรรยา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิศิษฐ์  ฤทธิบุญไชย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เพ็ญพรรณ  เจริญพร อนุกรรมการ รองศาสตราจารย์ ดร.ปิยะพร  ตันณีกุล  อนุกรรมการและเลขานุการ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เยาวภา  บัวเวช อนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ  ได้ขอรับการประเมินรับรองคุณภาพคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (National Ethics Committee Accreditation System of Thailand : NECAST)     โดยมีพันเอกศาสตราจารย์นายแพทย์ชาญชัย  ไตรวารี       ผู้ประสานงานการตรวจรับรองคุณภาพคณะอนุกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ พันเอก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไนยรัฐ  ประสงค์สุข  หัวหน้าผู้ตรวจรับรองคุณภาพ คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (National Ethics Committee Accreditation System of Thailand : NECAST) และคณะ ได้ให้เกียรติมาตรวจรับรองคุณภาพคณะอนุกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เมื่อวันที่  22 – 24  มกราคม  2567 ภายใต้ข้อตกลงการรักษาความลับและข้อมูลในการประเมินที่อนุญาตให้เข้าถึง  ทั้งนี้ มาตรฐานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (NECAST : System and Standard) ประกอบด้วย มาตรฐานที่ 1 โครงสร้างและองค์ประกอบของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มาตรฐานที่ 2 ปฏิบัติสอดคล้องกับนโยบายเฉพาะ มาตรฐานที่ 3 วิธีการพิจารณาทบทวน มาตรฐานที่ 4 วิธีการปฏิบัติหลังให้ความเห็นขอบ และมาตรฐานที่ 5 การจัดการเอกสารและการเก็บรักษาเอกสาร

ศาสตราจารย์ระพีพรรณ  กล่าวว่า สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ตระหนักถึงความสำคัญของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ซึ่งทำหน้าที่พิจารณาทบทวนด้านจริยธรรม การวิจัยของข้อเสนอโครงร่างการวิจัยในมนุษย์ เพื่อปกป้อง คุ้มครองสิทธิ สวัสดิภาพ ความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้เข้าร่วมการวิจัยหรืออาสาสมัครที่เข้าสู่โครงการวิจัย การทำหน้าที่ของคณะกรรมการฯ จึงเป็นส่วนสำคัญในการช่วยพัฒนาให้งานวิจัยของสถาบันนั้น ๆ มีคุณภาพ ปลอดภัยแก่อาสาสมัคร ได้ผลงานวิจัยที่เชื่อถือได้ และเกิดประโยชน์ต่อสังคม จำเป็นต้องมีระบบและหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสออบการทำงานของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เพื่อเป็นหลักประกันให้แก่สถาบัน นักวิจัย อาสาสมัคร และชุมชนว่า กระบวนการวิจัยจะเป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งกลไกดังกล่าวจะสำเร็จได้ ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้กำหนดนโยบายการวิจัยระดับประเทศ ผู้ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยสถาบันที่ดำเนินงานวิจัย โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับการให้ทุนวิจัยและนวัตกรรม การจัดทำฐานข้อมูลและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ การริเริ่มขับเคลื่อนและประสานการดำเนินงานโครงการวิจัยและนวัตกรรมที่สำคัญของประเทศ การส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้เพื่อใช้ประโยชน์ การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรม การให้รางวัล ประกาศเกียรติคุณ หรือยกย่องบุคคลหรือหน่วยงานด้านการวิจัยและนวัตกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดทำมาตรฐานและจริยธรรมการวิจัย ซึ่งสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้ดำเนินงานด้านมาตรฐานการวิจัยในมนุษย์ จึงได้สร้างระบบรับรองคุณภาพคณะกรรมการวิจัยในมนุษย์ (National Ethics Committee Accreditation System of Thailand : NECAST) เพื่อการพัฒนาคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และกำกับดูแลมาตรฐานการวิจัยในมนุษย์

Related posts