วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2567 ณ ห้องประชุมบัวสวรรค์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ จัดโครงการ “การแข่งขันสร้างหุ่นยนต์อัตโนมัติ”Creating Automatic Robot Competition 2024 (CARC 2024) ชิงแชมป์ ประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิรลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒนรัฐสีมาคุณากรปิยชาติสยามบรมราชกุมารี” ระหว่างวันที่ 20 – 21 มิถุนายน พ.ศ. 2567 โดยได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.อุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจษฎาพร สถานทรัพย์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ กล่าวรายงาน และ ดร.นวลวรรณ ชะอุ่ม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท แกมมาโก้ (ประเทศไทย) จำกัด กรรมการตัดสิน
ความเป็นมา หรือหลักการและเหตุผล
ท่ามกลางความเจริญและการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีของโลกในศตวรรษที่ 21 นั้นเป็นไปด้วยความรวดเร็ว จึงส่งผลให้กระบวนการเรียนรู้ต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย โดยที่การจัดการเรียนการสอนนั้น จะเป็นการเน้นให้ผู้เรียนได้มีการพัฒนาทักษะการลงมือทำ การคิดขั้นสูง การแก้ไขปัญหา การทำงานเป็นทีมและความคิดสร้างสรรค์เป็นต้น
ซึ่งแนวโน้มเช่นนี้ ทำให้จำเป็นที่จะต้องมีกิจกรรมที่มีรูปแบบของการบูรณาการศาสตร์ทางด้านต่างๆ เข้าด้วยกันทั้งในการเรียนการสอนภายในและนอกห้องเรียน รวมถึงการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่นักเรียนนักศึกษา บุคลากรทางการศึกษา และบุคคลทั่วไปผู้สนใจ จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการบูรณาการความรู้ความคิดในศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือประยุกต์เข้ากับการเรียนการศึกษา เพิ่มศักยภาพในการเรียนการสอน และบุคคลทั่วไปผู้สนใจในเทคโนโลยีการสร้างหุ่นยนต์ให้ได้ผลที่ดียิ่งขึ้นด้วย
การเข้าร่วมกิจกรรมแข่งขันหุ่นยนต์ ในโครงการแข่งขันสร้างและควบคุมหุ่นยนต์อัตโนมัติ ประจำปี พ.ศ. 2567 (CARC2024) ในหัวข้อ “Maze challenge” และ หัวข้อ “หุ่นยนต์โบว์ลิ่ง” ในระดับอุดมศึกษา
โดยมีวัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์
2. เพื่อพัฒนาและแลกเปลี่ยนความรู้ในการเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์
3. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการศึกษาต่าง ๆ
4. เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ความสามารถและศักยภาพทางวิชาการ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
เป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 240 คน
การแข่งขัน Drone และ การแข่งขัน“หุ่นยนต์โบว์ลิ่ง” รองรับ 30 ทีม ต่อ 1 ประเภทการแข่งขัน รวม 2 ประเภทการแข่งขัน 60 ทีม 1 ทีม ประกอบด้วยสมาชิก 2 – 3 คน + โค้ช 1 คน ไม่จำกัดทีม ต่อ สถาบันในการเข้าร่วมแข่งขัน
รายละเอียดการแข่งขันและคุณสมบัติผู้เข้าร่วมแข่งขัน
แบ่งกลุ่มเพื่อจัดการแข่งขันเป็ นทีม โดยแบ่งเป็น สมาชิก 2 – 3 คน ต่อ 1 ทีม โดยใช้วัสดุที่กำหนดให้นำไปใช้ในการออกแบบ และสร้างหุ่นยนต์ ตามกติกาที่กำหนด
– ช่วงอายุในการเข้าร่วมการแข่งขัน Drone : อายุ 12 – 19 ปี
– ช่วงอายุในการเข้าร่วมการแข่งขัน Bowling: ศึกษาในระดับอุดมศึกษา
– การแต่งกายในวันอบรมและแข่งขัน ให้แต่ละสถาบันการศึกษาใส่ชุดของแต่ละสถาบันการศึกษา ที่สุภาพเรียบร้อยถูกต้องตามระเบียบของสถาบันการศึกษา
รางวัล ทั้ง 2 ประเภทการแข่งขันฯ
รางวัลชนะเลิศ:
– ถ้วยพระราชทานพระเทพฯ รางวัลชนะเลิศ
– ประกาศนียบัตร
– ป้ายประกาศเกียรติคุณ
– เงินรางวัล 8,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1
– ถ้วยรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1
– ประกาศนียบัตร
– ป้ายประกาศเกียรติคุณ
– เงินรางวัล 5,000 บาท
รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2
– ถ้วยรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2
– ประกาศนียบัตร
– ป้ายประกาศเกียรติคุณ
– เงินรางวัล 4,000 บาท