เส้นทางเด็กช่าง ครูช่าง สู่เส้นทางธุรกิจ นำพา ไทย ออโต ทูลส์ แอนด์ ดาย สู่ความเป็นมหาชน เส้นทางเด็กช่าง ครูช่าง สู่เส้นทางธุรกิจ “ดร.พยุง ศักดาสาวิตร” ประธานกรรมการบริหารบริษัท ไทย ออโต ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด (มหาชน) กลุ่มบริษัท ไทยออโต ทูลส์ ซึ่งในวันที่ 1 เมษายน ครบรอบ 30 ปี ไทย ออโต ทูลส์ ก้าวย่างที่มั่นคง…สู่การเติบโตที่ยั่งยืน สู่ความเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมแม่พิมพ์โลหะและชิ้นส่วนยานยนต์ของภูมิภาคเอเชียที่ได้รับการยอมรับระดับสากล โดย ดร.พยุง สำเร็จการศึกษาศิษย์จากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ปัจจุบันได้รับเลือกให้เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงวุฒิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ดร.พยุง เผยว่า การตั้งบริษัทรับออกแบบและผลิตแม่พิมพ์โลหะขึ้นในปี 2536 บริษัทไทย ออโต ทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด และกลุ่มบริษัท ไทย ออโต ทูลส์ เป็นบริษัทของคนไทย 100% เชื่อมั่นในความเป็นอาจารย์ เชี่ยวชาญการผลิตแม่พิมพ์โลหะ เนื่องจากมีประสบการณ์ในการสอนอยู่ที่สถาบันเทคโนโลยีราชมงมลคล วิทยาเขตนนทบุรี กว่า20 ปี โดยมี คุณบัณฑูร เหล่าสินชัย และคุณคาวุธ หฤทัย ร่วมก่อตั้ง เริ่มจากพนักงานเพียง 10 คน ในช่วงแรกแม้จะมีวิกฤตเศรษฐกิจ “ต้มยำกุ้ง” แต่บริษัทฯ ก็ค่อย ๆ เดิบโตค่อย ๆ สะสมความรู้ จนมีความชำนาญสูงขึ้น ในปี 2541 จึงขยายทำแม่พิมพ์โลหะขนาดใหญ่ขึ้น เริ่มผลิตอุปกรณ์ตรวจสอบและอุปกรณ์จับยึด และย้ายโรงงาน ไปที่Faccom Mini Factory “ตอนแรกงานยังไม่มากนัก โชคดีที่บริษัทไม่มีหนี้สินมาก และมีเงินเหลือเก็บอยู่บ้าง นโยบายช่วงนั้นคือ“กบจำศีล” คือใช้จ่ายให้น้อย ไม่เลือกงาน ทั้งแม่พิมพ์ชิ้นส่วน เหล็กตัด เป้าหมายเราคือเลี้ยงพนักงานให้อยู่ได้จากวิกฤติเศรษฐกิจทำให้หลายแห่งปิดกิจการแต่บริษัทฯ สามารถประคองธุรกิจไปได้ ตลอดรอดฝั่งเมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้น ตั้งแต่ปี 2545 ลูกค้าและงานผลิตต่าง ๆ จึงไหลเข้ามาไม่ขาดสายในปี 2547 จึงตัดสินใจขยายตั้งโรงงานแห่งใหม่ ขนาดใหญ่ ที่ อ.ลาดหลุมแก้ว จ. ปทุมธานี บนพื้นที่ 60 ไร่ และเพิ่มทุนเป็น 100 ล้านบาท
ในปี 2548 ลาออกจากการเป็นอาจารย์ มาทำธุรกิจเต็มตัว ทำแผน 5 ปี เร่งพัฒนาคุณภาพบุคลากร สร้างคนคุณภาพให้แข่งขันกับนานาชาติแบบตัวต่อตัวได้ ด้วยการจัดสรรหุ้นให้หัวหน้าทีมวิศวกร 15 คน เพื่อให้รู้สึกเป็นเจ้าของ พร้อมส่งไปฝึกงานที่ประเทศญี่ปุ่น และให้กลับมาถ่ายทอดความรู้ให้น้อง ๆ “ถึงแม้จะเป็นผู้บริหาร แต่บทบาทชีวิตของครูยังคงอยู่ โดยเปิดโรงงานเป็นแหล่งเรียนรู้ให้นักศึกษา และอาจารย์เข้ามาเรียนรู้งาน ตลอดจนในการรับนักศึกษาเข้ามาฝึกงานกับทางบริษัทผมจะเป็นคนปฐมนิเทศเองทุกครั้ง เพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจและเปลี่ยน mindset การทำงานจริงและการเรียนในห้องเรียนไม่เหมือนกัน 4 เดือนที่ต้องใช้ชีวิตในโรงงาน” ในปี2555 บริษัทฯ ได้ขยายกิจการครั้งสำคัญ รองรับลูกค้าที่เพิ่มขึ้น โดยก่อตั้ง บริษัทใหม่เพิ่มอีก 3 แห่ง ได้แก่ ไทย ออโต ทูลส์ (ปทุมธานี) ไทย ออโต ทูลส์ (ชลบุรี) และ ไทยออโต ทูลส์ (อีสเทิร์น) ภายใต้ กลุ่มบริษัท ไทย ออโต ทูลส์ ซึ่ง TAT ถือหุ้น 97% ทำหน้าที่เป็นสำนักงานใหญ่
ด้วยประสบการณ์ บริษัทฯมีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับถึงคุณภาพมาตรฐานการผลิตที่ทัดเทียมกับบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนชาวญี่ปุ่นคือ การมีบุคลากรเปี่ยมคุณภาพ โดยมีทีมวิศวกรและทีมช่างเทคนิคจำนวนมากที่มีความรู้ลึกรู้จริง มีความเชี่ยวชาญ และมีความชำนาญในการใช้เทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง สามารถให้บริการลูกค้าแบบครบวงจร ทั้งการออกแบบ การผลิตชิ้นงาน ที่มีความยุ่งยากซับซ้อน ตลอดจนการบำรุงรักษา และการปั๊มขึ้นรูปชิ้นส่วนยานยนต์ ที่มีคุณภาพสูง ต้นทุนเหมาะสมและส่งมอบทันเวลาจากฐานความเชี่ยวชาญ และความชำนาญด้านวิศวกรรมขั้นสูง บริษัทฯประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยนับเป็นผู้ผลิตแม่พิมพ์โลหะของคนไทย เบอร์ต้น ฯ ของเอเชีย ที่ได้รับการยอมรับถึงชื่อเสียงคุณภาพการบริการและการผลิตครบวงจร ทั้งงานออกแบบการผลิตและการบำรุงรักษา ขณะที่ในด้านการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ บริษัทฯ นับเป็นบริษัทชั้นนำของประเทศไทยที่ได้รับความไว้วางใจ ให้เป็นหนึ่งในผู้ผลิตชิ้นส่วนสำหรับรถยนต์รุ่นใหม่ที่มีแผนการผลิตไปจำหน่ายทั่วโลกหลายล้านคันในปี พ.ศ.2566 “TAT” ได้ก้าวสู่ศักราชใหม่ เพื่อนำธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนในระดับสากลมากขึ้นโดยในวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2566 บริษัท ไทย ออโตทูลส์ แอนด์ ดาย จำกัด ได้จดทะเบียนแปรสภาพจากบริษัทจำกัด เป็นบริษัทมหาชนจำกัด และเปลี่ยนชื่อเป็น “บริษัท ไทย ออโต ทูลส์แอนด์ ดาย จำกัด (มหาชน)”
“ตลอด 30 ปี ที่ผ่านมา สิ่งที่ผมภูมิใจ คือ การที่แบรนด์ผู้ผลิตรถยนต์ และผู้ผลิตชิ้นส่วนชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น หลายแห่ง และแบรนด์ผู้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมจากประเทศเยอรมนี ไว้วางใจเลือก ไทย ออโต ทูลส์ฯ ให้เป็นผู้ผลิตแม่พิมพ์โลหะ อุปกรณ์จับยึด และชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ สำหรับจำหน่ายทั้งในประเทศไทยและส่งออกไปทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการได้รับการยอมรับนี้ สะท้อนถึงศักยภาพการผลิตที่ได้มาตรฐานสากล ทัดเทียมกับผู้ผลิตในประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันอุตสาหกรรมรถยนต์โลกและในประเทศไทย กำลังเปลี่ยนผ่านสู่การผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งผมเชื่อมั่นว่า ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย บุคลากรที่มีคุณภาพ อีกทั้งฐานะการเงินที่มั่นคง ประสบการณ์และชื่อเสี่ยงที่สั่งสมมายาวนานกว่า 30 ปี ตลอดจนการสนับสนุนของผู้ถือหุ้นเครือข่ายผู้ผลิต ลูกค้า สถาบันการเงิน และสังคม จะทำให้เรามีศักยภาพพร้อมรับทุกการแข่งขัน และเติบโตต่อไปอย่างยั่งยืน ภายใต้หลักธรรมาภิบาล เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่ ได้มุ่งมั่นพัฒนา เพื่อสร้างการยอมรับในระดับสากลให้มากขึ้น” ดร.พยุง กล่าวทิ้งท้าย